ตัวอย่างอุบัติเหตุ
ปัญหาอุบัติเหตุทางรถไฟกว่า 90% มาจากอุบัติเหตุจุดตัดทางรถไฟกับถนน ซึ่งมีมากถึง 2,449 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่เรามีทางรถไฟทั่วประเทศเพียง 4,043 กิโลเมตร ซึ่งจุดตัดทางรถไฟเหล่านี้มีทั้งที่มีเครื่องกั้นและไม่มีเครื่องกั้น เนื่องจากจุดตัดบางแห่งเป็นทางลักผ่านของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีการตัดถนนผ่านทางรถไฟโดยไม่มีการขออนุญาตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงไม่มีเครื่องกั้น ส่วนบางจุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบอ้างว่า ยังไม่มีงบประมาณในการดำเนินการ จึงทำให้มักมีอุบัติเหตุทางรถไฟเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
โดยเฉพาะช่วงหลังเกิดอุบัติเหตุแทบจะรายวัน และทวีความรุนแรงจนถึงขั้นสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเยียวยาและดูแลรักษาในแต่ละปีมูลค่ามหาศาล ข้อมูลจากการรถไฟฯ พบว่า จุดตัดผ่านทางรถไฟทั้งสิ้น 2,449 แห่งนั้น เป็นเส้นทางตัดผ่านที่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ ประมาณ 1,914 แห่ง และเป็นทางลักผ่านที่ไม่ได้รับอนุญาตจากการรถไฟฯ ถึง 535 แห่ง ขณะที่จากสถิติอุบัติเหตุเฉพาะที่เกิดจากการขับรถผ่านจุดตัดทางรถไฟกับถนน (รถยนต์) ปี 2548-2550 มีจำนวนมากถึง 290 ครั้ง บาดเจ็บ 339 คน และเสียชีวิต 96 ศพ ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงอันตรายที่อาจเกิดจาก อุปสรรคทางกายภาพพื้นที่และการขาดความระมัดระวังในวิสัยปุถุชนที่ยังขาดสำนึกแห่งความปลอดภัยก็เป็นได้ ส่วนในปี 2552 รถไฟเกิดอุบัติเหตุตกรางประมาณ 138 ครั้ง และชนกับรถยนต์บริเวณจุดตัดรวมกว่า 100 ครั้ง
สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น